ทุกหลักสูตร ระดับปริญญาโท/ปริญญาเอก สามารถสมัครได้จาก Link นี้

https://grad.admission.kmutnb.ac.th/ApplyLogin.aspx

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

เป็นหลักสูตรแผน ก. (ทำวิทยานิพนธ์) เรียนแบบเต็มเวลา ในเวลาราชการ

ใช้เวลาศึกษา 3 ปี ทั้งหมด 6 ภาคการศึกษา

แบบ 1.1

ต้องสำเร็จปริญญาโท แผน ก ทางด้าน

    1. วิศวกรรมศาสตร์ (วศ.ม.)
    2. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ค.อ.ม.)
    3. อุตสาหกรรมศาสตร์ (อส.ม.)
    4. วิทยาศาสตร์ (วท.ม.)
    5. หรือเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาข้างต้น

โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ากว่า 3.50 (เต็ม 4.00)

โดยมีผลการทดสอบจากศูนย์ทดสอบทางภาษา

    1. TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ากว่า 525 คะแนน
    2. TOEFL (Computer-based) ไม่ต่ากว่า 195 คะแนน
    3. IELTS (Academic Module) ไม่ต่ากว่า 5.5
    4. ผลการทดสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า

ทั้งนี้ผลการสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบจากสถาบันที่มีการทดสอบ

และผู้สมัครมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอันเป็นที่ยอมรับของภาควิชามาแล้วอย่างน้อย 1 เรื่อง

แบบ 1.2

ต้องสำเร็จปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่าโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย
สะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ากว่า 3.50 (เต็ม 4.00) หรือได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 

โดยมีผลการทดสอบจากศูนย์ทดสอบทางภาษา

    1. TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ากว่า 525 คะแนน
    2. TOEFL (Computer-based) ไม่ต่ากว่า 195 คะแนน
    3. IELTS (Academic Module) ไม่ต่ากว่า 5.5
    4. ผลการทดสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า

ทั้งนี้ผลการสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบจากสถาบันที่มีการทดสอบ

แบบ 2.1

ต้องสำเร็จปริญญาโท แผน ก ทางด้าน

    1. วิศวกรรมศาสตร์ (วศ.ม.)
    2. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ค.อ.ม.)
    3. อุตสาหกรรมศาสตร์ (อส.ม.)
    4. วิทยาศาสตร์ (วท.ม.)

หากจบ แผน ข ต้องมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในประเทศที่ได้รับการยอมรับจากภาควิชา

โดยผู้เข้าศึกษาต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ากว่า 3.25 (เต็ม 4.00)

โดยมีผลทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ 2.2

ต้องสำเร็จปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่าโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย
สะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ากว่า 3.50 (เต็ม 4.00) หรือได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 

โดยมีผลการทดสอบจากศูนย์ทดสอบทางภาษา

    1. TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ากว่า 525 คะแนน
    2. TOEFL (Computer-based) ไม่ต่ากว่า 195 คะแนน
    3. IELTS (Academic Module) ไม่ต่ากว่า 5.5
    4. ผลการทดสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า

ทั้งนี้ผลการสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบจากสถาบันที่มีการทดสอบ


ทั้งนี้การพิจารณาเข้าศึกษาในหลักสูตรตามแผนการเรียนแบบ 2.1 และแบบ 2.2 ต้องได้รับความ
เห็นชอบจากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการก่อน

หมายเหตุ : ผู้สมัครที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ตามแผนการเรียนแบบ 1.1, แบบ 1.2, แบบ 2.1 และแบบ 2.2
ให้อยู่ในดุลยพินิจของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

แบบ 1.1 หน่วยกิตทั้งหมด 54 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ 54 หน่วยกิต

แบบ 1.2 หน่วยกิตทั้งหมด 72 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

แบบ 2.1 หน่วยกิตทั้งหมด 54 หน่วยกิต

วิชาบังคับ* 3 หน่วยกิต

  ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Methodology) 3(3-0-6)

วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 42 หน่วยกิต

แบบ 2.2 หน่วยกิตทั้งหมด 72 หน่วยกิต

วิชาบังคับ* 3 หน่วยกิต

  ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Methodology) 3(3-0-6)

วิชาเลือก 21 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต


*โดยให้ใช้เวลาเรียนรายวิชาบังคับไม่เกินปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2

การตัดสินใจเกณฑ์พหุคูณขั้นสูง (Advanced Multiple Criteria Decision Making) 3(3-0-6)
การพัฒนาอัลกอริทึมสาหรับงานวิศวกรรมการผลิต (Algorithm Development for Manufacturing Engineering) 3(3-0-6)
การยศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Ergonomics) 3(3-0-6)
การจัดการโซ่อุปทานขั้นสูง (Advanced Supply Chain Management) 3(3-0-6)
เรื่องคัดเฉพาะทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ (Selected Topic in Industrial Engineering) 3(3-0-6)
การประเมินความเสี่ยงขั้นสูงของระบบวิศวกรรม (Advanced Risk Assessment of Engineering System) 3(3-0-6)
การบริหารคุณภาพขั้นสูง (Advanced Quality Management) 3(3-0-6)
วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ขั้นสูง (Advanced Concurrent Engineering) 3(3-0-6)
การจัดตารางการผลิตขั้นสูง (Advanced Production Scheduling) 3(3-0-6)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ในอุตสาหกรรมขั้นสูง (Advanced Computer Simulation in Industry) 3(3-0-6)
การพยากรณ์ขั้นสูงสาหรับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Advanced Forecast Methods in Supply Chain Management) 3(3-0-6)
การออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design: An Integrative Approach) 3(3-0-6)
เครื่องมือหาค่าเหมาะที่สุดและการเขียนโปรแกรมสำหรับตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Optimization Tools and Computer Programming for Decision Support Model) 3(3-0-6)
การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสินค้าอุตสาหกรรมขั้นสูง (Advanced Multimodal Transportation in Industry) 3(3-0-6)
การประเมินความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมขั้นสูง (Advanced Risk Assessment in Industry Freight Transportation) 3(3-0-6)
การทดลองชนิดซับซ้อนและการหาค่าที่เหมาะสมของกระบวนการ (Complex Experiments Process Optimization) 3(3-0-6)
การจัดตารางการผลิตในโซ่อุปทานด้วยโปรแกรมเชิงเส้นจานวนเต็มแบบผสม (Scheduling in Supply Chains Using Mixed Integer Programming) 3(3-0-6)
การปรับปรุงความน่าเชื่อถือด้วยการออกแบบการทดลอง (Reliability Improvement with Design of Experiment) 3(3-0-6)
เมตาฮิวริสติกอัลกอริทึม (Metaheuristic Algorithms) 3(3-0-6)
เครื่องมือสำหรับการแก้ปัญหา (Tools for Problem Solving) 3(3-0-6)
การควบคุมคุณภาพขั้นสูง (Advanced Quality Control) 3(3-0-6)
การจำลองสถานการณ์เพื่อการจัดการกระบวนการ (Simulation for Operations Management) 3(3-0-6)
การวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Decision Analysis) 3(3-0-6)
การบริหารการผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Research) 3(3-0-6)
การจัดลำดับและการจัดตารางการผลิต (Production Sequencing and Scheduling) 3(3-0-6)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิต (Computer Control in Manufacturing) 3(3-0-6)
การใช้การคำนวณเชิงนุ่มในกระบวนการผลิต (Soft Computing in Manufacturing Process) 3(3-0-6)
ปัจจัยมนุษย์ในการออกแบบระบบ (Human Factors in System Design) 3(3-0-6)
วิศวกรรมความปลอดภัยขั้นสูง (Advanced Safety Engineering) 3(3-0-6)
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Safety and Occupational Health) 3(3-0-6)
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) 3(3-0-6)
วิธีการหาขนาดการสั่งที่เหมาะสม (Optimal Lot-Sizing Methods) 3(3-0-6)
โมเดลทางสถิติสาหรับการออกแบบการทดลอง (Statistical Modelling in Design of Experiment) 3(3-0-6)
ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) 3(3-0-6)
การออกแบบระบบและการปรับปรุงกระบวนการทางาน (System Design and Process Improvement) 3(3-0-6)
การออกแบบระบบผลิต (Manufacturing System Design) 3(3-0-6)
วิศวกรรมความคิดขั้นสูง (Advanced Cognitive Engineering) 3(3-0-6)
วิศวกรรมความแม่นยาขั้นสูง (Advanced Precision Engineering) 3(3-0-6)
ระบบการเงินในธุรกิจอุตสาหกรรม (Financial Systems in Industrial Enterprise) 3(3-0-6)
การประยุกต์การจัดการกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน (Applied Operations Management in Supply Chain) 3(3-0-6)
การวิจัยดำเนินงานเชิงประยุกต์ในการจัดห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Applied Operations Research in Supply Chain and Logistics Management) 3(3-0-6)
การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรม (Engineering Product Design: A Systematic Approach) 3(3-0-6)
วิธีการจัดลำดับและการจัดตารางการผลิต (Production Sequencing and Scheduling Methods) 3(3-0-6)

แบบ 1.1 และ 1.2

  1. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
  2. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  3. การตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์
    • ก่อนการสอบความก้าวหน้า (Progress Examination) จะต้องได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง (ไม่รับโปสเตอร์)
    • ก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ (Defend Examination) มีทางเลือกดังนี้
      1. ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 เรื่อง
      2. ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง และได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (Q1) จานวน 2 เรื่อง
      3. ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) จำนวน 1 เรื่อง และได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (Q1) จำนวน 1 เรื่อง

จากนั้นจึงจะสามารถดำเนินการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้

แบบ 2.1 และ 2.2

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตร
  2. ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
  3. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
  4. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  5. การตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์
    •  ก่อนการสอบความก้าวหน้า (Progress Examination) จะต้องได้รับการตอบรับการตีพิมพ์และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง (ไม่รับโปสเตอร์)
    • ก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ (Defend Examination) ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวนอย่างน้อย 1 เรื่อง

จากนั้นจึงจะสามารถดาเนินการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้

หมายเหตุ : แบบ 1 และแบบ 2 ผลงานวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์ก่อนการสอบก้าวหน้า จะไม่นามานับเป็นผลงานที่ตีพิมพ์ก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์